หน่วยไตเทียม ราชเวช เชียงใหม่ (Hemodialysis)

การบำบัดทดแทนไต เป็นกระบวนการการรักษาเพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยให้มีการขจัดของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกาย ขจัดน้ำส่วนเกินจากร่างกาย รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ต่างๆ และรักษาภาวะแทรกซ้อน ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากภาวะไตวายเรื้อรัง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควร

การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ซึ่งเป็นการขับของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
2. การล้างไตทางหน้าท้อง
3. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต

– การรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis; HD) คือการนำเลือดผ่านทางช่องทางฟอกเลือดที่มีการเตรียมไว้ออกมาฟอกโดยผ่านตัวกรองเลือดเพื่อขจัดของเสีย ปรับสมดุลของเกลือแร่และกรดด่างแล้วนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะได้ปลูกถ่ายไต

– การรักษาด้วยการล้างไตทางผนังช่องท้อง (Peritoneal Dialysis : PD) คือ การใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำโดยการซึมผ่านเยื่อบุช่องท้อง จากนั้นปล่อยน้ำยาออกหมุนเวียนต่อเนื่องทุกวัน อย่างน้อย 4-5 ครั้งต่อวัน ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือพิเศษช่วยในการล้างไต ให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น

– การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation; KT)คือ การผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ที่ได้จากผู้บริจาคเข้าไปในผู้ป่วยไตวาย โดยไตใหม่นั้นอาจได้มาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตหรือไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต เช่น ญาติพี่น้อง หรือคู่สมรสที่มีเลือดหมู่เดียวกันก็ได้โดยต้องมีการตรวจเนื้อเยื่ออย่างละเอียด รวมถึงไตผู้ให้ต้องเป็นไตที่แข็งแรง สมบูรณ์ รวมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ให้ไตด้วย

  • เรื่องไตให้เราดูแลคุณ
  • รักษาโรคไตวายเฉียบพลัน
  • รักษาโรคไตวายเรื้อรัง
  • เครื่องฟอกไต 40 เครื่อง
  • หมุนเวียน 3 ครั้ง/วัน

รอบที่ 1 เวลา 07.00 น. ถึง 11.00 น.
รอบที่ 2 เวลา 12.00 น. ถึง 16.00 น.
รอบที่ 3 เวลา 17.00 น. ถึง 21.00 น.

ตารางแพทย์ออกตรวจ

วันเวลาสถานที่
จันทร์ – เสาร์07.00 – 22.00 น.หน่วยไตเทียม
ชั้น 3 โรงพยาบาลราชเวช

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ