โรคกระดูกและข้อ

เป็นโรคที่เกิดขึ้นขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น คนทำงาน หรือนักกีฬา โรคกระดูกและข้อบางโรคจะมีลักษณะเฉพาะของโรค ซึ่งหากผู้ป่วยมีความรู้สามารถให้การดูแลและป้องกันมิให้โรคกำเริบ หากดูแลไม่ดีจะทำให้ข้อมีการอักเสบเรื้อรัง ในที่สุดก็จะมีการทำลายข้ออย่างถาวร เกิดการพิการอย่างถาวร ในการตรวจวินิจฉัยแพทย์จะอาศัยประวัติการเจ็บป่วยอย่างละเอียด ซึ่งสำคัญมาก หากการชักประวัติไม่ถูกต้องแล้วการวินิจฉัยโรคอาจมีการผิดพลาดได้ เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ลักษณะของการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน อาการที่ปวด มีลักษณะอย่างไร เช่น แดง ร้อน ข้อที่ปวดเป็นเหมือนกันสองข้างหรือไม่ หลังจากตรวจร่างกายบางรายแพทย์จะเจาะเลือด เพื่อหาสาเหตุ และประเมินความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจจะจำเป็นต้องเจาะน้ำในข้อส่งตรวจหาสาเหตุของโรค โรคที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ โรคข้อเสื่อม โรคเกาต์ โรครูมา อาการปวดบางรายหากมีอาการชาร่วมด้วย อาจมีสาเหตุจากกระดูกทับเส้นประสาท หรือเกิดจากอุบัติเหตุ การรักษามีทั้งหายและไม่หาย โรคกระดูกและข้อที่เป็นกันส่วนมาก ได้แก่ โรคเกาต์ ข้อเสื่อม อักเสบรูมาตอยด์ กระดูกพรุน โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคข้อสามารถป้องกันได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม ถ้าอิริยาบถใดก็ตามทำให้ข้อเข่าปวด ควรหลีกเลี่ยง และพักใช้งาน อาการปวดก็จะทุเลาลงได้ โรคเก๊าท์ สามารถรับประทานยาลดกรดยูริกเพื่อช่วยลดอาการกำเริบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ข้อต่อจะเสีย ส่วนโรคข้อจากการออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะกับสภาพร่างกาย เช่น คนที่อาการข้อเสื่อมต้องหลีกเลี่ยงการวิ่ง การเดิน คนที่มีข้อเข่าเสื่อมนั้น วิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือ การว่ายน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงไม่ไห้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายแล้วกระดูกข้อต่อแตก หรือหัก ต้องรีบทำการรักษาจัดกระดูกให้เข้าที่ ถ้ากระดูกที่แตกไม่ได้รับการจัดให้เข้าที่ ข้อต่อนั้นจะเสื่อม ทำให้ข้อต่อนั้นเคลื่อนไหวน้อยลง สำหรับ ผู้สูงอายุ แนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน หรือการรำไทเก็ก การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ * การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ถั่ว น้ำเต้าหู้ นม ผักใบเขียว ปลากรอบ ปลาป่น ทานข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผักและผลไม้ ก็อุดมด้วยแคลเซียมด้วยเช่นกัน มาดูกันว่ามีผักผลไม่ชนิดใด ที่เราสามารถเลือกทานเพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงกันบ้าง เช่น กะหล่ำปลี กล้วย บลอคโคลี ผลกีวี ผักคะน้าใบ หอมหัวใหญ่

บทความโดย ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลราชเวช เชียงใหม่ แผนก กระดูก